Cardiac dysrhythmia
ผู้เข้าชมรวม
3,068
ผู้เข้าชมเดือนนี้
4
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เป็นภาวะที่หัวใจเต้นผิดปกติทั้งจังหวะ และ/หรืออัตราการเต้นของหัวใจ โดย เต้นเกิน 100/min หรือ น้อยกว่า 60/min
สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
1. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง 2. ภาวะขาดออกซิเจน เช่น COPD
3. ภาวะไม่สมดุลของเมตาบอลิก เช่น acidosis 4. Electrolyte imbalance
5. พิษจากยาที่ได้รับ เช่น digoxin, dilantin 6. มีการทำลายกลุ่มเซลล์กำเนิดไฟฟ้าหัวใจ เช่น
การ ผ่าตัดหัวใจ
พยาธิสภาพ : ถ้าเกิด bradycardia จะส่งผลให้ cardiac output ลดลง เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ
ก็ลดลงด้วย เมื่อการไหลเวียนเลือดต่ำ อาจเกิด thrombosis ซึ่งเป็นสาเหตุของการอุดตันในหลอด
เลือด
ถ้าเกิดภาวะ tachycardia ระยะเวลาให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจสั้นลง ปริมาณเลือดที่เข้า
สู่หัวใจน้อยลง เลือดที่ถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายก็ลดลงด้วย นอกจากนี้การที่ระยะคลายตัวของหัวใจสั้นลงทำให้รับเลือดหล่อเลี้ยงน้อยลง อาจเป็นสาเหตุส่งเสริมให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ควรทราบ
1. P wave เป็นคลื่นที่เกิดจาก SA node ส่งไปยัง Atrium ให้มี depolarization เกิดการหดรัดตัว ความสูงของคลื่นไม่เกิน 3 mv กว้างไม่เกิน 0.11 วินาที
2. P-R interval เริ่มจาก Atrium มี depolarization ถึง ventricle เริ่มมี depolarization ระยะเวลาประมาณ 0.12-0.20 วินาที
3. QRS complex เป็นคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่ Ventricle มี depolarization ทำให้ ventricle หดตัว ขนาดคลื่นสูง 0.5-3 mv กว้าง 0.04-0.11วินาที ถ้ากว้างมากพบใน bundle branch block
4. Q wave คลื่นลึกไม่เกิน 1 ใน 4 ของ QRS wave กว้างไม่เกิน 0.04 วินาที
5. T wave เป็นคลื่นเกิดจาก ventricle มี repolarization ถ้า T wave สูงมากพบได้ในภาวะ Hyperkalemia
6. U-wave เป็นคลื่นที่เกิดตามหลัง T-wave พบในภาวะ hypokalemia
ชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
1. ความผิดปกติที่เกิดใน Atrial
1.1 Sinus bradycardia คือ หัวใจเต้น < 60/min เนื่องจาก S.A.node ส่งคลื่นช้ากว่าปกติ ในภาวะปกติเกิดจากพิษยา digitalis ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เป็นต้นอาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เป็นลมได้
1.2 Sinus tachycardia คือหัวใจเต้นเร็ว เกิดจาก S.A.node ส่งคลื่นไฟฟ้าด้วยอัตราเร็ว
ในอัตรา 100-180 /min อาจเกิดในภาวะมีไข้สูง ภาวะหัวใจวาย hyperthyroidism ได้ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น ถ้ามีโรคหัวใจอยู่แล้วจะมี cardiac out put ลดลงมากหรือมีอาการ Angina pain ได้
1.3 Premature atrial contraction (PAC) เกิดจาก actopic focus ใน atrium ส่งคลื่นไฟฟ้าก่อน S.A. node การมี PAC บ่อยๆ อาจทำให้ atrium ขาดเลือดมาเลี้ยงAtrial fibrillation และหัวใจวายได้
1.4 Paroxysmal atrial tachycardia (PAT) เกิดจากมีจุดกำเนิดไฟฟ้านอกเหนือจาก S.A.node เกิดขึ้นทันที ซึ่ง Ventricle สามารถรับคลื่นไฟฟ้าได้ ทำให้ทั้ง Atrium และ Ventricle เต้นเร็วเท่ากันในอัตรา 150-250 /min
1.5 Atrial fibrillation (AF) เกิดจากมีจุดกำเนิดไฟฟ้าใน atrium หลายแห่ง ส่งคลื่นไฟฟ้า ด้วยอัตราเร็ว ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ หรือมีชีพจรไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น
2. ความผิดปกติ เกิดที่ Atrioventricular junction (A.V. node)
2.1 Junctional rhythms : มีลักษณะคลื่นจะไม่มี P wave นำหน้า QRS ทุกตัว
2.2 Atrioventricular block ( A-v block)ทำให้ P-R interval ยาวเกินกว่า 0.20 sec
3. ความผิดปกติเกิดใน Ventricular เป็นกลุ่มที่มีความอันตรายมากกว่าในกลุ่มที่มีความผิดปกติ 2 ชนิดแรก ที่สำคัญได้แก่
3.1 premature ventricular contraction (PVC) : ventricle จะหดรัดตัวก่อนจังหวะปกติจึงไม่มี P wave QRS complex กว้างกว่าปกติและมีระยะพักยาวกว่าปกติ สาเหตุของ PVC อาจเกิดจาก hypoxia, hypokalemia ,acidosis, heart failure เป็นต้น
ลักษณะ PVC ที่เป็นอันตราย ได้แก่
- มี PVC เกิดขึ้นบ่อย มากกว่า 6 ครั้งต่อนาที
- มี PVCเกิดติดต่อกันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
- มี PVC เกิดจากจุดกำเนิดไฟฟ้ามากกว่า 1 แห่ง โดยรูปร่างของ แตกต่างกัน
- PVC เกิดซ้อนหรือเกือบซ้อน T wave
3.2 Ventricular tachycardia มักเกิดหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย ลักษณะคลื่นหัวใจ จะไม่มี P wave และ PR interval QRS กว้าง
ภาวะ Ventricular tachycardia เป็นภาวะวิกฤตต้องได้รับการแก้ไขทันที ดังนี้
1. แพทย์ให้ lidocaine 50-100 ml IV ทันที ถ้ายังไม่หาย พิจารณาปรับจังหวะหัวใจ ด้วยไฟฟ้า
2. ตรวจระดับ K+ ในเลือด หากต่ำ แก้โดยผสม KCl ในสารน้ำหยดทางหลอดเลือดดำ
3. หากเกิด ventricular tachycardia นานกว่า 5 นาที จะเกิดการคั่งของ lactic acid แพทย์จะให้ sodium bicarbonate ทางหลอดเลือดดำ
2.3 Ventricular fibrillation (VF) ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QRS complex ไม่สม่ำเสมอ เห็นเป็นเส้นขยุกขยิก ชีพจรและความดันโลหิตวัดไม่ได้ ต้องได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วน ผู้ป่วยอาจตายได้ ต้องรีบช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า สาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายรุนแรง
สัมผัสไฟฟ้าแรงสูง electrolyte imbalance
http://nu.kku.ac.th/site/250262/nursing3/nursing25.htm
ผลงานอื่นๆ ของ ยัยบ๊อง555 ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ยัยบ๊อง555
ความคิดเห็น